วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


ขอขอบคุณภาพประกอบจาก learntripitaka.com,

"ศาสนาพุทธ" เป็นศาสนาประจำชาติไทยของเรา แล้วมีสักกี่คนเอ่ย...ที่ทราบถึงประวัติของ "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ผู้ทรงเป็น "พระศาสดา" ของ "พระพุทธศาสนา" วันนี้กระปุกจึงนำเรื่องราวพุทธประวัติมาฝากกันค่ะ

พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือผู้ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และ "พระนางสิริมหามายา" พระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ

ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มีช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม ก่อนที่พระนางจะมีพระประสูติกาล ที่ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ 80 ปีก่อนพุทธศักราช (ปัจจุบันสวนลุมพินีวันอยู่ในประเทศเนปาล)

ทันทีที่ประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท พร้อมเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา" แต่หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติกาลได้แล้ว 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็เสด็จสวรรคาลัย เจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในความดูแลของพระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา

ทั้งนี้ พราหมณ์ ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ หากดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวช และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน


ชีวิตในวัยเด็ก

เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร และเนื่องจากพระบิดาไม่ประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้อยู่ประทับ และจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์

เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา จนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง"


เสด็จออกผนวช



วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อความจำเจในปราสาท 3 ฤดู จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยเทวทูต (ทูตสวรรค์) ที่แปลงกายมา พระองค์จึงทรงคิดได้ว่า นี่เป็นธรรมดาของโลก ชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่าความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องครองเรือนเป็นสมณะ ดังนั้นพระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา ในขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา

ครานั้นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันทะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง นามว่ากัณฑกะ มุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) และให้นายฉันทะ นำเครื่องทรงกลับพระนคร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) ไปโดยเพียงลำพัง เพื่อมุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ


บำเพ็ญทุกรกิริยา

หลังจากทรงผนวชแล้ว พระองค์มุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม แต่หลังจากทดลองได้ 6 ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และหันมาฉันอาหารตามเดิม ด้วยพระราชดำริตามที่ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ คือดีดพิณสายที่ 1 ขึงไว้ตึงเกินไปเมื่อดีดก็จะขาด ดีดพิณวาระที่ 2 ซึ่งขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ และวาระที่ 3 ดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป นั่นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์

หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ ที่มาคอยรับใช้พระองค์ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อพระองค์ค้นพบทางพ้นทุกข์ จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองค์ล้มเลิกความตั้งใจ จึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี


ตรัสรู้



ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ

ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ สามารถระลึกชาติได้

ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้

ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือกิเลส ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศาสดาเอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขณะที่มีพระชนม์ 35 พรรษา


แสดงปฐมเทศนา

หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มาเป็นเวลา 7 สัปดาห์ และทรงเห็นว่าพระธรรมนั้นยากต่อบุคคลทั่วไปที่จะเข้าใจและปฏิบัติได้ พระองค์จึงทรงพิจารณาว่า บุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวกอย่าง บัว 4 เหล่า ที่มีทั้งผู้ที่สอนได้ง่าย และผู้ที่สอนได้ยาก พระองค์จึงทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส ผู้เป็นพระอาจารย์ จึงหวังเสด็จไปโปรด แต่ทั้งสองท่านเสียชีวิตแล้ว พระองค์จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ที่เคยมาเฝ้ารับใช้ จึงได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

ธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงธรรมคือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป ซึ่งถือเป็นการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา

ในการนี้พระโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า "อัญญาสิ วตโกณฑัญโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยเรียกการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบททั้งหมดแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์ในเวลาต่อมา


การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เทศน์พระธรรมเทศนาโปรดแก่ยสกุลบุตร รวมทั้งเพื่อนของยสกุลบุตร จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด รวม 60 รูป

พระพุทธเจ้าทรงมีพระราชประสงค์จะให้มนุษย์โลกพ้นทุกข์ พ้นกิเลส จึงตรัสเรียกสาวกทั้ง 60 รูป มาประชุมกัน และตรัสให้พระสาวก 60 รูป จาริกแยกย้ายกันเดินทางไปประกาศศาสนา 60 แห่ง โดยลำพัง ในเส้นทางที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ในหลายพื้นที่อย่างครอบคลุม ส่วนพระองค์เองได้เสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม

หลังจากสาวกได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ต่างๆ ทำให้มีผู้เลื่อมใสพระพทุธศาสนาเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงทรงอนุญาตให้สาวกสามารถดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ "ติสรณคมนูปสัมปทา" คือ การปฏิญาณตนเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา


เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน




พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์และแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา ทรงสดับว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน จึงได้ทรงปลงอายุสังขาร ขณะนั้นพระองค์ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี โดยก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 1 วัน พระองค์ได้เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะทำถวาย แต่เกิดอาพาธลง ทำให้พระอานนท์โกรธ แต่พระองค์ตรัสว่า "บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์) เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ และปรินิพพาน" และมีพระดำรัสว่า "โย โว อานนท ธมม จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต โส โว มมจจเยน สตถา" อันแปลว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"

พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน โดยก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก ซึ่งถือได้ว่า "พระสุภภัททะ" คือสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และปุถุชนจากแคว้นต่างๆ รวมทั้งเทวดา ที่มารวมตัวกันในวันนี้

ในครานั้นพระองค์ทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" (อปปมาเทน สมปาเทต)

จากนั้นได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวมพระชนม์ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กบกับเสือ



เจ้ากบตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ริมน้ำ กำลังนอนร้องเพลงอย่างมีความสุข เสือเจ้าป่ามาเจอพอดี เจ้ากบตกใจ จะกระโดดหนีก็ไม่ทัน “อย่าเพิ่งกินข้า” เจ้ากบรีบพูด “ข้าเป็นกบวิเศษ ถ้าแน่จริงมาแข่งกันก่อนว่าใครเก่ง ถ้าเจ้าชนะข้า ข้าจะยอมให้เจ้ากิน” เสือไม่ค่อยเชื่อว่ากบจะเก่งหรอก แต่คิดว่าคงสนุกดี ได้เล่นสนุกก่อนกิน จึงตอบว่า “ตกลง” “แข่งกระโจนข้ามแม่น้ำนะ” เจ้ากบแสนรู้พูด เสือตั้งท่าอย่างดี และกระโจนข้ามแม่น้ำไปได้ง่ายดาย ระหว่างที่เสือตั้งท่าจะกระโจน เจ้ากบแสนรู้กระโดดงับขนหางมันไว้ ดังนั้นพอเสือข้ามแม่น้ำไปก็เห็นเจ้ากบยืนยิ้มอยู่ข้าง ๆ “เจ้ากบ ข้ามมาตั้งแต่ตอนไหน” เสืองงมาก “ก็พร้อม ๆ กัน” เจ้ากบตอบ พลางคายขนเสือที่ติดปาก เจ้าเสือยิ่งตกใจใหญ่ รีบถามว่า “เจ้าคายอะไรออกมา” “อ๋อ” เจ้ากบแสนรู้ รีบแต่งเรื่องทันที “คือว่า เมื่อวานข้าเพิ่งกินเสือไปตัวหนึ่ง เลยทำให้ข้าแข็งแรงเป็นพิเศษ อยากจะกินอีกตัว แล้วละ” เจ้าเสือตกใจแทบสิ้นสติ บอกตัวเองว่า “หนีดีกว่า” แล้วรีบกระโจนข้ามแม่น้ำกลับไปอีกฝั่งทันที นับแต่วันนั้นมา กบจึงเป็นสัตว์ไม่ประมาท ระมัดระวังตัวมากขึ้น เวลาใครเข้าใกล้มันก็กระโจนลงน้ำ ซ่อนตัวบนใบบัวกลางบึง หรือแอบอยู่ใต้ใบไม้ ไม่ร้องเพลงเสียงดังอีกแล้ว ได้แต่ร้องว่า อบ อ๊บ อ๊บ อบ

กบน้อยช่างคิด



กบน้อยตัวหนึ่ง นั่งจ้องกินแมลงอยู่ข้างกอหญ้าใต้ต้นไม้ใหญ่ นาน ๆ ครั้งมันจึงส่งเสียงร้อง อ๊บ! อ๊บ! และกระโดดไปกระโดดมาอยู่ข้างกอหญ้า ทันใดนั้นกบก็ได้ยินเสียงงูเห่าขู่ ฟ่อ! ฟ่อ! มันรีบกระโดดหลบซ่อนตัวในกอหญ้า อีกสักครู่ก็มีเสียงต่อสู้กัน มันกระโดดมาเเหตุการณ์ มันเห็นงูเห่ากับพังพอนกำลังสู้กัน ทันใดนั้นเองงูเห่าก็สามารถรัดพังพอนได้ แล้วงูเห่าก็ชูหัวฉกลงบนหัวของพังพอน

กบน้อยคิดว่าทำไมสัตว์โลกจะต่างคนต่างอยู่ไม่ได้หรือ ทำไมจึงต้องเข่นฆ่ากันให้เดือดร้อน

ความลับของเหล่าใบไม้


นี่เป็นเรื่องราวของเหล่าใบไม้ ผู้ซึ่งไม่เคยรู้เลยว่า หลังจากที่พวกมันแก่ตัวลงจนเนื้อตัวเป็นสีน้ำตาลแก่ แล้วร่วงหล่นจากต้นไม้ใหญ่ พวกมันจะได้เผชิญกับสิ่งใดต่อไป เพราะไม่เคยมีใบไม้ที่ร่วงหล่นใบใด จะกลับมาบอกพวกใบที่ยังอยู่บนต้น ให้ได้รู้กันเลย

พวกใบไม้หนุ่มต่างก็คาดการณ์ และเล่าเรื่องกันไป ต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่า หลังจากที่ร่วงหล่นไปแล้ว ก็จะไปยังดินแดนอีกแห่งหนึ่ง บ้างว่า สายลมจะพัดพวกที่หล่นเหล่านั้นขึ้นไปบนฟากฟ้า บ้างก็ว่า ก็แค่ดับสลายหายไป ไม่มีอะไรมากกว่านั้น

แต่ความจริงนั้นเป็นเช่นใดหนอ ก็คงมีแต่พวกเด็ก ๆ ช่างสังเกตเท่านั้นกระมัง ที่จะรู้แจ้งถึงความจริงอันเป็นความลับแต่ช้านานของเผ่าพันธุ์ใบไม้นี้ได้

..................................................

หลังจากที่ใบไม้หนุ่มใบหนึ่งเริ่มแก่ตัวลง สีเขียวชอุ่มของมันก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ จากนั้นมันจะรอคอยวินาทีแห่งความตื่นเต้นด้วยใจจดจ่อ

และแล้วสายลมแผ่วเบาก็พัดมา ใบไม้แก่ถูกปลิดออกจากกิ่งน้อย ๆ ถลาตัวลงสู่อากาศ พร้อมกับรำพึงในใจว่า “ลาก่อนต้นไม้ใหญ่” การเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

วินาทีแรก ใบไม้แก่ลอยเคว้งเดียวดายอยู่กลางอากาศ ตัดกับท้องฟ้าสีครามงามตา

วินาทีต่อมา ลมแรงขึ้นเล็กน้อย ใบไม้แก่ ตีลังกาม้วนหน้าม้วนหลัง พลิกตัวซ้ายที ขวาที จากนั้นก็ร่อนวนไปวนมาช้า ๆ

วินาทีที่สาม ลมระรอกใหญ่พัดใบไม้แก่ขึ้นสูงสู่ท้องฟ้า มันมองลงมาข้างล่าง แล้วโลกอันกว้างใหญ่ก็ปรากฏตัวสู่สายตา

วินาทีที่สี่ เมื่อลมผ่านไป ใบไม้แก่ก็ร่วงหล่นอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มันหันหน้าขึ้นสู่ฟากฟ้า ได้มองดูเมฆพิศวง และหมู่นกบินกลับรัง

วินาทีที่ห้า ก่อนที่จะตกสู่ผืนดิน ใบไม้แก่ ได้เห็นพระอาทิตย์ดวงโตกำลังตกดินเป็นครั้งแรก แสงอุ่น ๆ ฉาบร่างของมันทั่วตัว จนใบทั้งใบกลายเป็นสีส้มเรืองรอง

และวินาทีสุดท้าย ใบไม้แก่ร่วงหล่นสัมผัสผืนดินอย่างแผ่วเบา อมยิ้มละไม แล้วหลับตาลงชั่วนิรันดร์ บัดนี้มันประจักษ์แล้วว่า อะไรคือความลับของเหล่าใบไม้ทั้งมวล

อย่างไรก็ตาม ใบไม้หนุ่มมากมาย รุ่นแล้ว รุ่นเล่า ก็ยังคงไต่ถามถึงความลับนี้ ต่อไป ต่อไป...


ยายกะตา



ยายกะตาปลูกถั่วปลูกงาให้หลานเฝ้า หลานไม่เฝ้า
กามากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี

หลานร้องไห้ไปหานายพราน ขอให้ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
นายพรานตอบว่า "ไม่ใช่กงการอะไรของข้า"

หลานจึงไปหาหนู ขอให้ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
หนูตอบว่า "ไม่ใช่กงการอะไรของข้า"

หลานจึงไปหาแมว ขอให้แมวช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
แมวตอบว่า "ไม่ใช่กงการอะไรของข้า"

หลานจึงไปหาหมาขอให้ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
หมาตอบว่า "ไม่ใช่กงการอะไรของข้า"


หลานจึงไปหาไม้ค้อนให้ย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
ไม้ค้อนตอบว่า "ไม่ใช่กงการอะไรของข้า"

หลานจึงไปหาไฟให้ช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนไม่ช่วยย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
ไฟตอบว่า "ไม่ใช่กงการอะไรของข้า"

หลานจึงไปหาน้ำให้ช่วยดับไฟ
ไฟไม่ช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนไม่ช่วยย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
น้ำตอบว่า "ไม่ใช่กงการอะไรของข้า"

หลานจึงไปหาตลิ่งให้ช่วยพังทับน้ำ
น้ำไม่ช่วยดับไฟ
ไฟไม่ช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนไม่ช่วยย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
ตลิ่งตอบว่า "ไม่ใช่กงการอะไรของข้า"

หลานจึงไปหาช้างให้ช่วยถล่มตลิ่ง
ตลิ่งไม่ช่วยพังทับน้ำ
น้ำไม่ช่วยดับไฟ
ไฟไม่ช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนไม่ช่วยย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
ช้างตอบว่า "ไม่ใช่กงการอะไรของข้า"

หลานจึงไปหาแมลงหวี่ให้ช่วยตอมตาช้าง
ช้างไม่ช่วยถล่มตลิ่ง
ตลิ่งไม่ช่วยพังทับน้ำ
น้ำไม่ช่วยดับไฟ
ไฟไม่ช่วยไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนไม่ช่วยย้อนหัวหมา
หมาไม่ช่วยกัดแมว
แมวไม่ช่วยกัดหนู
หนูไม่ช่วยกัดสายธนูนายพราน
นายพรานไม่ช่วยยิงกา
กากินถั่วกินงาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนาน
ยายมายายก็ด่า ตามาตาก็ตี
แมลงหวี่ตอบว่า "ข้าจะช่วยตอมตาช้างให้ตาเน่าทั้งสองข้าง"

ช้างตกใจจึงรีบไปช่วยถล่มตลิ่ง
ตลิ่งจึงรีบไปช่วยพังทับน้ำ
น้ำจึงรีบไปช่วยดับไฟ
ไฟจึงรีบไปไหม้ไม้ค้อน
ไม้ค้อนจึงรีบไปย้อนหัวหมา
หมาจึงรีบไปช่วยกัดแมว
แมวจึงรีบไปช่วยกัดหนู
หนูจึงรีบไปกัดสายธนูของนายพราน
นายพรานจึงรีบไปช่วยยิงกา
กาจึงเอาถั่วเอางาเจ็ดเมล็ดเจ็ดทะนานมาคืนหลาน
หลานเอาถั่วเอางาไปให้แก่ยายกะตา
ยายกะตาก็เลิกด่าเลิกตีหลานแต่นั้นมา



ความกลัวของหัวหน้าเผ่า ( คนอ่าน 5595 คน) ( คนแสดงความเห็น 43 คน)

แรกเริ่มเดิมทีนั้นธรรมชาติบันดาลให้มนุษย์มีความกลัวขึ้น
มาอยู่เพียงชนิดเดียว นั่นคือความกลัวภยันตรายต่อชีวิต เช่น
กลัวสัตว์ดุร้าย กลัวของมีพิษ และกลัวอุบัติเหตุ ความกลัวเหล่า
นี้มนุษย์จำเป็นต้องมีไว้เพื่อป้องกันตนเองต่อการถูกทำร้าย

แต่แล้วก็มีเรื่องเกิดขึ้นมาจนได้ เมื่อมนุษย์คนหนึ่งซึ่งนับได้
ว่าเป็นหัวหน้าเผ่าของมนุษย์รุ่นแรก ๆ คิดสร้างที่อยู่อาศัยให้
แก่ตนเอง

ในทีแรก เขาได้สร้างห้องเล็ก ๆ ห้องหนึ่งขึ้นมา อันเพียงพอ
ต่อการป้องกันพวกเสือ สิงโต และสุนัขป่า เข้ามาทำร้ายได้
และเขาก็แนะนำให้ประชาชนของเขาสร้างที่อยู่เช่นนี้ให้กับ
ตัวเองด้วย

ต่อมาเขาเกิดความคิดว่า “บ้านของเรานั้นเหตุใดจึงมีขนาด
เท่ากับที่อยู่ของ ประชาชนทั่วไป ทั้ง ๆ ที่เราเป็นหัวหน้าแท้ ๆ

ดังนั้นเขาจึงขยับขยายที่อยู่นั้นให้กว้างขึ้นกว่าเดิม

และเมื่อที่อยู่เริ่มกว้างขึ้น เขาก็เริ่มคำนึงถึงความสวยงาม
ดังนั้นจึงเกิดการระดมช่างฝีมือดี และคนงานเพื่อมาสร้างบ้าน
ที่เหมาะสมกับฐานะบทบาทของเขา

เมื่อบ้านใหญ่โต และสวยงาม ก็เกิดความกลัวที่จะสูญเสียมัน
เขาจึงสร้างกำแพงใหญ่โตล้อมรอบที่อยู่อาศัย และสร้างที่อยู่
เพิ่มขึ้น
เพิ่มขึ้น เป็นการเผื่อเอาไว้หากเขาต้องสูญเสียที่อยู่เดิมไป

แต่ความกลัวต่อการสูญเสียก็ขยับขยายมากขึ้นตามกัน และยิ่งมี
ความกลัว เขาก็ยิ่งต้องคอยระแวงระวัง กับการเฝ้าดูปราสาททั้งหมด
ของเขามากขึ้น จนประชาชนเริ่มเอาไปซุบซิบนินทา ว่ากันว่าเขา
ไม่สนใจต่อการปกครองประชาชน เอาแต่สนใจในการปกป้องที่อยู่
อาศัยของตน

ตอนกลางคืนเขานอนไม่หลับ กระสับกระส่าย รู้สึกทรมานกับความ
ระแวงของตน เขารำพึงกับตัวเองว่า “โอ... เทพเจ้าแกล้งเราหรือ
อย่างไร บัดนี้เราไม่เหมือนกับคนอื่นทั่วไป ที่มีเพียงความกลัวอัน
เล็กน้อย แต่ก็ทำให้หลับสบายได้ ส่วนเรานี่สิ ความกลัวกลับช่าง
หนักหนาเกินแบกรับไว้ และไม่สามารถกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้อีกแล้ว”

วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น แผ่นดินที่เคยเงียบสงบเกิด
สะเทือนไหวอย่างรุนแรง ความรุนแรงของการสะเทือนนี้ แม้แต่
ภูเขาที่เคยตระหง่านก็ยังถล่มลงมา ประสาอะไรกับที่อยู่อาศัยที่
มนุษย์สร้างขึ้นเล่า ปราสาทของหัวหน้าเผ่าที่ใช้ความพยายามอย่าง
มากในการก่อสร้างและปกป้องมา บัดนี้พวกมันต่างถูกทำลายสิ้นด้วย
ฤทธิ์แห่งแผ่นดินไหวอันน่าสะท้าน

เมื่อแผ่นเดินเงียบสงบดังเดิม ทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง หัวหน้า
เผ่านั่งอาลัยอยู่ท่ามกลางเศษซากนั้น ใบหน้าบ่งบอกถึงความเสียใจ
เขาหันหน้าไปรอบๆ และในที่สุดก็เจอห้อง ๆ หนึ่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย
อันเริ่มแรกของตน มันยังคงมีสภาพดีอยู่ บัดนั้นความเศร้าอาลัยบน
ใบหน้าก็กลับหาย กลายเป็นความปิติอย่างประหลาด เขาพูดลอย ๆ
ขึ้นว่า “โอ ขอบเทพเจ้า แผ่นดินไหวครั้งนี้ได้ทำลายปราสาทอัน
งดงามของเราไปจนหมดสิ้น ทว่ามันก็ชะล้างความกลัวอันมากหลาย
และเนิ่นนานของเราออกไปเช่นกัน”

หัวหน้าเผ่าคนนี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ คนที่สามารถปลดปล่อยความ
กลัวออก ไปได้ เขาไม่รู้ว่า ต่อมาอีกเนิ่นนาน ชนเผ่ามนุษย์รุ่นหลัง ๆ
นั้น มีความกลัวอันสลับซับซ้อน และรุนแรงกว่าเขาซึ่งเป็นมนุษย์รุ่นแรก ๆ
มากมายนัก


ลิงเจ้าปัญญา



ชายป่าแห่งหนึ่ง มีลิงตัวหนึ่งอาศัยอยู่

เจ้าลิงตัวนี้มีเพื่อนคือ เต่า ช้าง กระต่าย

วันหนึ่งลิงบอกว่าจะไปจับปลา ทั้งเต่า ช้าง

และกระต่ายก็ขอไปด้วย พอไปถึงลำธารทั้งหมดก็

ช่วยกันจับปลา ได้ปลามากมายเกินกว่าจะกินหมด

จึงตกลงกันว่าจะเก็บไว้กินยามขาดแคลน ทั้งหมด

ช่วยกันก่อไฟเพื่อย่างปลาเก็บไว้ วันรุ่งขึ้นก็ไปหา

ปลากันอีก แต่คิดได้ว่าต้องมีคนหนึ่งอยู่เฝ้าปลาที่

เก็บไว้ ตกลงให้ช้างเป็นคนเฝ้า เพราะเห็นว่าตัวใหญ่

พอไปกันแล้วสักพักก็มีเสียงไม้หักโผงผาง มีเสียง

ย่ำพื้นดินดัง ปรากฏว่าเป็นเสียงยักษ์ตนหนึ่ง

การที่ยักษ์มาเพราะมันได้กลิ่นปลาที่ย่างไว้

พอมาถึงมันก็กอบเอาปลาย่างใส่ปากเคี้ยวอย่าง

แสนอร่อยจนหมด แล้วหันหลังเดินเข้าป่าไป

ช้างไม่สามารถขัดขวางได้ ได้แต่จ้องดูยักษ์

ด้วยความหวาดกลัวพอเพื่อน กลับมา ช้างก็เล่า

ให้ฟังถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สัตว์ทั้งสามต่างไม่พอใจ

ที่ช้างไม่ห้ามปรามหรือขัดขวาง ในที่สุดก็ตกลงช่วย

กันจับปลาใหม่ เมื่อได้มาแล้วก็ย่างไฟไว้แล้วต่าง

ก็ตกลงให้กระต่ายเป็นผู้เฝ้า เมื่อถึงเวลาพวกสัตว์

ทั้งสามไปหาปลา ยักษ์ก็มาอีกกระต่ายก็วิ่งหลบ

เข้าใต้ต้นไม้ด้วยความหวาดกลัวปล่อยให้ยักษ์กิน

ปลาจนหมดอีก

เมื่อสัตว์ทั้งสามกลับมาได้ทราบเรื่องก็เป็นเดือด

เป็นแค้นมาก จึงปรึกษากันหาวิธีที่จะปราบเจ้ายักษ์

ตนนี้ ต่อมาเต่าเป็นผู้เฝ้าปลาก็เป็นแบบเดิม จนกระทั่ง

ลิงรับอาสาเฝ้าปลาเอง สัตว์ทั้งสามเคยพบยักษ์

แล้วจึงอดเยาะลิงไม่ได้ที่รับอาสาจะปราบยักษ์

แต่ลิงก็ไม่สนใจและขอให้ช้างคอยช่วยเหลือในการ

ปราบยักษ์ ลิงจึงชวนช้างป่าหาเสาขนาดใหญ่สี่ต้น

มาปักเป็นสี่มุม เมื่อถึงเวลาออกหาปลา ลิงเป็น

ผู้เฝ้าปลาลิงออกไปหาหวายเส้นมาจำนวนหนึ่งมา

ผ่าทำเป็นเชือกที่แข็งแรง พอทำเสร็จก็ได้ยินเสียงดัง

โผงผางเจ้ายักษ์ออกมา ลิงทำเป็นไม่สนใจคงเร่งมือ

ทำห่วงที่ปลายเชือก ยักษ์เห็นดังนั้นก็

สงสัยจึงถามลิงว่าทำอะไร ลิงตอบโดยไม่มองยักษ์ว่า

ข้ามีเพื่อนที่เป็นโรคปวดหลัง เดี๋ยวจะพากันมาหาข้าให้

ช่วย เจ้ายักษ์ได้ยินดังนั้นก็ตบอกดีใจร้องว่า วิเศษ

แท้ข้ากำลังปวดหลังอยู่พอดี เจ้าพอจะรักษาให้ข้าได้ไหม

ลิงตอบว่า อ๋อ! ง่ายมาก ข้ารักษาไม่เคยพลาด ถ้า

อยากให้หายก็มาสินอนตรงนี้แล้วเหยียดมือขาออกตาม

สบายในช่องเสานี้ ฝ่ายยักษ์ก็เอนตัวลงนอนตามที่ลิงชี้

ให้ดู และทำท่าทางตามที่ลิงบอก ยักษ์ก็สงสัยว่าจะทำ

อย่างไรต่อไป ลิงก็ให้ยักษ์ทำตามที่ตนบอกไปเรื่อย

ก็แล้วกัน ยักษ์โง่ไม่ถามอะไรอีก และทำตามที่ลิงบอก

ลงนอนในระหว่างเสาแล้วเหยียดแขนเหยียดขาตาม

ที่ลิงต้องการ เสร็จแล้วก็ถามลิงว่าทำอย่างไรต่อไป

ลิงก็ให้ยักษ์นอนเฉย แล้วก็จัดการเอาห่วงรูดที่ปลาย

เชือกหวายคล้องเข้ากับมือและเท้าของยักษ์ แล้ว

เอาหวายข้างหนึ่งผูกเข้าติดกับหลักที่เตรียมไว้ ต่อจาก

นั้นก็ขันชะเนาะดึงเชือกหวายทั้งสี่เส้นให้ตึงทั้งสี่มุมเป็น

การขึงพืดเจ้ายักษ์ไว้กับที่ แล้วลิงก็เดินห่างออกไป

ยักษ์จะตามลิงไปแต่เชือกที่ผูกไว้ทำให้มันไม่สามารถ

ทำได้ มันจึงดิ้นยิ่งดิ้นเท่าไหร่ห่วงรูดก็ยิ่งรัดแน่นขึ้น

ทุกทีจึงได้แต่ส่งเสียงร้องลั่นป่า เมื่อสัตว์ทั้งสามกลับ

จากหาปลาเห็นลิงนั่งมองดูยักษ์ที่ตนมัดขึงพืดอยู่ด้วย

ความสบายใจก็รู้สึกดีใจมากและด้วยความโกรธ

สัตว์เหล่านั้นจึงช่วยกันกัด เหยียบยักษ์จนตาย

และต่างก็พากันสงสัยว่าลิงทำได้อย่างไร ลิงไม่

ตอบตามตรงแต่บอกว่า

หากเจ้ามีร่างเล็กอ่อนแอ เจ้าต้องใช้

สมองต่อสู้กับศัตรูที่ตัวใหญ่กว่าจึงจะสามารถ

เอาชนะได้

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้ารู้จักใช้ความรู้

และสติปัญญา ย่อมสามารถเอาชนะผู้รุกรานได้